ReadyPlanet.com


ค่าตำแหน่ง/ค่าภาษา/ค่าวิชาชีพ/ค่าประสบการณ์ ที่ได้รับประจำทุกเดือน นำไปคิด ปกส. ด้วยหรือเปล่าค่ะ


ค่าตำแหน่ง/ค่าภาษา/ค่าวิชาชีพ/ค่าประสบการณ์      ที่ได้รับเป็นประจำทุกเดือน นำไปคิด ปกส. (ประกันสังคม) ด้วยหรือเปล่าคะ   ข้องใจประเด็นนี้มานานมากแล้วค่ะ    เพราะหลาย ๆ ที่จะนำเฉพาะเงินเดือนมาคิด   บางที่ นำมาคิดหมดเลยที่เป็นรายได้ประจำ  รายได้ที่ไม่ประจำเช่น ค่าคอม ค่าOT จะไม่นำมาคิด   

ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  ต้องรบกวน ปรึกษาด้วยนะคะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ MissApple (dounghatai_n-at-hotmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-02 22:14:28 IP : 183.89.27.239


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3200552)

ตามพรบ.ประกันสังคมกำหนดว่า

           "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวัน

และเวลาทำงานปกติไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความ

รวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ไดทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณหรือ

จ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะ เรียกชื่ออย่างไร..."

       ดูตามข้อกฎหมาย  จะคล้ายกับพรบ.คุ้มครองแรงงาน  ฯ  คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทน

การทำงานในเวลาทำงานปกติ คือความหมายของ ค่าจ้าง   แต่ปัจจุบัน  ยังพบว่า  การพิจารณาว่า เงินประเภท

ใดถือเป็นค่าจ้างหรือไม่   ยังมีความแตกต่างกันอยู่  คือ

         ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน  ฯ  ถือว่า เงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง ประจำแน่นอน  เพื่อตอบแทนการทำงาน

ตามระยะเวลาทำงานปกติ ถือเป็นค่าจ้าง     แต่เงินบางประเภทไม่ถือเป็นค่าจ้าง  หากเป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการ

โดยแท้  เช่นค่าที่พัก เนื่องจากนายจ้างไม่สามารถจัดที่พักได้ (กรณ๊ไปทำงานต่างจังหวัด) ค่าน้ำมัน  ค่าโทรศัพท์

ค่าอาหาร เป็นต้น  ซึ่งเงินแต่ละประเภทจะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่  ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น  วิธีการจ่าย

หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่าย  เจตนาการจ่าย  เป็นต้น    ยกตัวอย่าง เงินค่าคอมมิชชั่น อาจเป็นได้ทั้งค่าจ้าง  และไม่ใช่

ค่าจ้าง  ทั้งนี้ขั้นอยู่กับหลักเกณฑ์เงื่อนไข  วิธีการจ่าย  

        ส่วนตามพรบ.ประกันสังคม  ถือว่าเงินทุกประเภท  ที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแน่นอนทุกเดือน  เพื่อตอบแทนการทำงาน

ในเวลาทำงานปกติ  ถือเป็นค่าจ้าง   ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม  ทั้งนี้ไม่รวมถึง ค่าทำงานล่วงเวลา  ค่าทำงานใน

วันหยุด  เนื่องจากเงินดังกล่าว ถือว่าไม่แน่นอน  ในแต่ละเดือน

         ดังนั้น หากพิจารณาตามแนวประกันสังคม  ถือว่า  เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็น ค่าตำแหน่ง  ค่าภาษา ค่าวิชาชีพ

ค่าประสบการณ์   หากจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน  ชัดเจน  จ่ายประจำทุกเดือน  เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน  

ตามแนวประกันสังม ถือว่าเป็นค่าจ้างครับ   

      นายจ้างบางราย  อ้างว่าเงินอื่น ๆ เป็นสวัสดิการ  จ่ายไม่แน่นอน มีเงื่อนไขการจ่าย  เพื่อยกเว้นไม่คำนวณส่งประกันสังคม  

ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติ  ประกันสังคมจะมีหนังสือแจ้ง  ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด  ตามกฎหมาย  ซึ่งนายจ้างต้อง

ชี้แจง  อธิบาย  หรืออาจยุ่งยาก เป็นคดีความฟ้องร้องกันได้ในอนาคต ครับ  

     ในทางปฏิบัติ  ยังมีนายจ้างจำนวนมาก  ที่คำนวณเงินประกันสังคมเฉพาะ เงินเดือนล้วน ๆ ไม่รวมเงินอื่น ๆ  ที่จ่าย

ประจำพร้อมกับเงินเดือนที่ยังทำได้อยู่  เพราะ  ยังไม่มีการตรวจสอบที่เข้มงวด  หรือบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังครับ

หากเจอสำนักงานประกันสังคมพื้นที่ไหน เข้มงวด   หรือเอาจริงกับเรื่องดังกล่าว   นายจ้างที่พูดถึง  อาจถูกเรียกเงินเพิ่ม

หรือเรียกย้อนหลังได้ครับ  ถือว่าส่งเงินประกันสังคมไม่ครบ

       ก็พิจารณาไตร่ตรองดูว่า  จะทำให้ถูกต้องเสียทีเดียว   หรือค่อยมาแก้ไขภายหลังนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น sw วันที่ตอบ 2010-06-03 11:57:00 IP : 58.9.28.174


ความคิดเห็นที่ 2 (3200887)

ขอบคุณ อาจารย์มากเลยค่ะ  ตอบได้ชัดเจนมาก  หายข้องใจเลยค่ะ   ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น MissApple (dounghatai_n-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-03 19:47:04 IP : 183.89.14.162


ความคิดเห็นที่ 3 (3200890)

 อ.  ค่ะ  

ถ้านายจ้าง  จ้าง นาย ก. ทำงาน โดยมีค่าจ้าง 30,000.- ต่อเดือน  โดยแบ่งเป็น

- เงินเดือน 15,000.-  

- ค่าตำแหน่ง 10,000.-

- ค่าวิชาชีพ 5,000.-

เวลาที่นายจ้าง ส่งเงินสมทบให้ลูกจ้าง ก็จะแจ้งเฉพาะเงินเดือน 15,000.- เท่านั้น  (จ่ายประกันสังคมแค่ 750.-)   แต่ในทุก ๆ เดือน เราต้องทำ ภงด.1 ส่ง สรรพากร  และยอดที่เราจะต้องกรอก  ต้องเป็นยอด 15,000.-  (ไม่เสียภาษี)  หรือว่า จะกรอกยอด 30,000.- (อันนี้เสียภาษีแน่นอน)   สรุปแล้ว เราจะต้องใช้ตัวเลขอันไหนค่ะ    

ผู้แสดงความคิดเห็น MissApple วันที่ตอบ 2010-06-03 20:03:00 IP : 183.89.14.162


ความคิดเห็นที่ 4 (3201038)

กรณีประกันสังคม   หากเงินเดือนเกิน ๑๕,๐๐๐ บาท จะไม่เกิดปัญหา เพราะอัตราสูงสุด ณ.ปัจจุบัน ที่นายจ้างต้อง

หักและนำส่ง  คือ ๗๕๐  บาท คือเงินเดือนไม่เกิน ๑๕,๐๐๐  บาท นั่นเอง

การทำ ภงด.๑ ส่งสรรพากร  นายจ้างจะต้องแจ้ง  รายได้ทั้งหมดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงแก่สรรพากร   เนื่องจาก

เงินทุกบาทที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง  ถือว่าเป็นรายได้ ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี สิ้นปี   ในส่วนของนายจ้างเอง ก็ต้อง

นำจำนวนเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างทุกบาท  ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ในการคำนวณภาษีเช่นกัน    ดังนั้น

จำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายออกไป   กับ จำนวนเงินที่ลูกจ้างได้รับ  จึงต้องตรงกัน   ตามประมวลรัษฎากร ก็กำหนด

ให้นำส่งตามจำนวนเงินรายได้ที่จ่ายจริงครับ   ส่วนเงินประเภทใดจะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ เป็นอีกกรณีที่ต้อง

พิจารณา    แต่กรณีจำนวนเงินที่สอบถาม นายจ้างมีหน้าที่หักและนำส่งสรรพากรตามกฎหมาย  ตามความเป็นจริง

     สรุป  ต้องนำส่งยอดจ่ายจริง  ยอดเต็ม  คือ ๓๐,๐๐๐  บาท  ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น sw วันที่ตอบ 2010-06-04 10:37:40 IP : 61.90.74.213


ความคิดเห็นที่ 5 (3201048)

ok ka. สรรพพากร  ยื่นเต็มจำนวน 30000

แล้วประกันสังคมหละค่ะ อ. ต้องยื่นแจ้งเต็ม 30000 หรือเปล่า  หรือว่าแค่ 15000 เท่านั้น  

ผู้แสดงความคิดเห็น MissApple วันที่ตอบ 2010-06-04 10:49:31 IP : 58.8.243.59


ความคิดเห็นที่ 6 (3201167)

จากข้อมูลข้างต้น  ตามพรบ.ประกันสังคมถือว่าเป็นเงินค่าจ้างอยู่แล้วครับ

30,000  บาท  ยื่นไปให้ถูกต้องดีกว่า  ไม่ต้องกังวลภายหลัง   และพนักงานก็ไม่ได้รับผล

กระทบใด ๆ เพราะจ่ายในอัตราสูงสุดอยู่แล้ว  คือ 750 บาท 

หมายเหตุสำคัญ   เมื่อครบเกษียณอายุ  หรือใช้สิทธิประกันว่างงาน   หรือกองทุนเงินทดแทน

ประกันสังคม จะคำนวณเงินสิทธิประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น  โดยอ้างอิงอัตราค่าจ้างสุดท้ายที่

พนักงานได้รับนะครับ  

      ฉนั้น เงินเดือนสูง  สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาที่จะได้รับ   ก็จะสูงตามไปด้วยครับ

ถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างในอนาคตครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น sw วันที่ตอบ 2010-06-04 13:15:35 IP : 58.11.3.218


ความคิดเห็นที่ 7 (3205119)

อ.ค่ะ

ไม่ว่าจะเงินเดือนเท่าไหร่ แต่อัตราในการจ่าง  ทาง ประกันสังคม  เค้าจะคิดให้แค่ ที่ 15000.- เป็นขั้นต่ำ ไม่ใช่เหรอค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น MissApple วันที่ตอบ 2010-06-12 23:13:19 IP : 183.89.41.152


ความคิดเห็นที่ 8 (3218546)

ขอถามว่าออกจากงานแล้วไปติดต่อประกันสังคมว่ามีความประสงค์จะจ่ายเงินสมทบเองแต่ทางสำนักงานประกันสังคมบอกว่าต้องจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งแรกประมาณ 6,000 บาท เป็นเพราะอะไรทำไมจึงจะต้องจ่ายสูงขาดนั้น ขอความรู้ด้วยถ้าจะกรุณาช่วยอธิบายให้ทราบด้วยง่า ถ้าจะจ่ายเงินประกันสังคมเองจะทำอย่างไร และจะจ่ายเงินครั้งแรกเท่าใด

ผู้แสดงความคิดเห็น พัชรีมน (tonngeon-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2010-07-14 07:59:24 IP : 115.87.213.243


ความคิดเห็นที่ 9 (3219185)

เท่าที่ทำงานมา  ไม่เคยเจอกรณีแบบนี้ครับ

กฎหมายกำหนดไว้เพียงว่า  ผู้ประกันตนกรณ๊ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า สิบสองเดือน  เมื่อพ้นสภาพความเป็นลูกจ้าง

และต้องการประกันตนต่อตามมาตรา ๓๙ เพียงแค่ยื่นความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ตามระเบียบเท่านั้น  โดย

อัตราเงินสมทบเป็นไปตามประกาศ  อัตราสูงสุดที่จ่ายอยู่ คือ  ๔๓๒  บาท  ต่อเดือนเท่านั้นครับ   จ่าย ๖,๐๐๐  บาท ครั้งแรก

ไม่เคยพบเจอ

         ที่เคยพบกรณีที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม   คือจะเป็นกรณี  ที่ พนักงานบางรายอาจเคยขอประโยชน์เงินทดแทนในกรณีอื่น ๆ  และ

สำนักงานประกันสังคมเคยจ่ายเงินเกินสิทธิไป  เมื่อพนักงานคนนั้น ๆ  จะขอใช้สิทธิประโยชน์กรณีอื่น ๆ   ทางสำนักงานประกันสังคม

จึงแจ้งให้ผู้ประกันตนคืนเงินส่วนที่จ่ายเกินเสียก่อน  จึงจะใช้สิทธิกรณีอื่น ๆ ได้    

         กรณีจ่ายเงินคร้งแรก  ๖,๐๐๐  บาท  โดยไม่มีสาเหตุ  เป็นไปไม่ได้ครับ     ลองสอบถามดูว่า  เป็นค่าอะไร   

หากเป็นค่าใช้จ่ายแรกเข้าไม่ใช่แน่นอนครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-07-15 09:12:25 IP : 58.9.31.12


ความคิดเห็นที่ 10 (3283596)

อ.ค่ะ

ขอรบกวนสอบถามข้อมูลดังนี้ค่ะ

มีพนักงาน 1 คน ซึ่งเป็นพนักงานประจำของบริษัท

พนักงานได้รับเงินเดือน 8,000 บาท ค่าครองชีพ 500 บาท  รวม 8,500 บาท เวลายิ่งนำส่ง ปกส.จะยื่นที่ยอด 8,500 บาท

(เท่ากับว่าโดนหัก ปกส.425 บาท  แต่พนักงานมี ขาดงานจำนวน 2 วัน จึงหักออกจากค่าจ้าง = 566.67 บาท

เท่ากับว่า พนักงานได้รับเงินจริง 7,933.33  ดังนั้นยอดที่จะนำส่ง ปกส. ควรจะเป็นยอดเต็ม (8,500) หรือยอดที่หักขาดงานแล้ว คือ 7,933.33 บาทกันน่ะค่ะ

ปัจจุบัน บ.ใช้วิธีการหักแบบ นำยอดเต็มมาหักค่ะ คือ 8,500 ส่วนการหักขาดงาน พนักงานก็จะเสียสิทธิ์เอง

ผู้แสดงความคิดเห็น สุดารัตน์ วันที่ตอบ 2011-02-07 16:44:45 IP : 61.90.198.200


ความคิดเห็นที่ 11 (3300121)

ขอรบกวนเพื่อเป็นความรู้ในการคำนวณเงินส่งเงินกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างจะต้องนำมาคำนวณในการจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนในแต่ละปีว่า เงินประเภทใดที่ต้องนำมาคำนวณซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมจะต้องให้ทางผู้ประกอบการคำนวณส่งและมีการเรียกเก็บจากนายจ้างเพิ่มเติมจากที่เคยเก็บไว้ล่วงหน้า   และถ้าเป็นเงินประเภทค่าบริหารนั้นจะต้องนำมาคำนวณส่งหรือไม่? แต่จะไม่ได้รับทุกเดือน หรือถ้ามีการจ่ายทุกเดือนนั้นมันถือเป็นการเข้าข่ายการจ่ายค่าจ้างกับลูกจ้างหรือเปล่า ?    และขอรบกวนยกตัวอย่างและอธิบายเงินที่ต้องนำมาคำนวณการส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนให้ด้วยนะค่ะ  เพราะมีการโทรเข้าสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมแล้วไม่ค่อยเข้าใจและแต่ละคนก็ตอบไม่เหมือนกัน  และเพื่อประโยชน์ในการถือปฎิบัติและไม่ต้องมีการเรียกเก็บย้อนหลังและยังค่าปรับเงินเพิ่มเติมด้วยนั้นเพราะผู้ที่เสียประโยชน์นั้นเป็นนายจ้างซึ้งจะต้องรับภาระเงินปรับให้แก่สำนักงานประกันสังคมกับความไม่เข้าใจและความไม่กระจ่างของรายละเอียดที่

 

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไม่ประสงค์ออกนาม วันที่ตอบ 2011-07-05 21:56:42 IP : 49.48.122.253


ความคิดเห็นที่ 12 (3328786)

รบกวนสอบถามค่ะ ไม่ทราบว่าค่าตำแหน่ง และค่าวิชาชีพ เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่ะ ไม่ทราบว่าจะหารายละเอียดจากไหน รบกวนหน่อยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น a (nu_aud-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-03-14 09:20:11 IP : 110.77.176.166


ความคิดเห็นที่ 13 (3329332)

เพื่อนๆ คนไหนทราบบ้างคะว่า  ถ้าพนักงานมีค่าตำแหน่งในปีที่ผ่านมา คือได้ตำแหน่งเป็น Sup. พร้อมค่าตำแหน่งไปแล้ว  แต่ต่อมาอีกปี ก็มีปรับเป็นผู้จัดการ ก็จะได้ค่าตำแหน่งเพิ่มอีก  ปกติเราจ่ายค่าตำแหน่งแยกออกจากเงินเดือนให้เห็นเด่นชัดหรือไม่คะ  แล้วอย่างที่เราแยกจ่ายกันมา  พอมีค่าตำแหน่งเพิ่มในแต่ละตำแหน่ง เราต้องเอาไปโยนไว้ในก้อนไหน อย่างไรคะ

เช่น นาย ก.  มีเงินเดือน 10000 บาท ค่าตำแหน่ง 3000 บาท ในปี 2554  ต่อมาปี 2555

        นาย ก. มีเงินเดือน  12000 บาท (มีปรับเงินเดือนประจำปีด้วย) ค่าตำแหน่งเดิมมีอยู่ 3000 แล้วได้ค่าตำแหน่งผู้จัดการเพิ่มอีก 5000  ดังนั้นในส่วน 5000 บาท นี้เราต้องเอาไว้ตรงไหน หรือต้องโยกของเก่าออกไปไว้เงินเดือนก่อนคะ

ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ

gate_w@planet.co.th

ผู้แสดงความคิดเห็น HR ซื่อๆ (gate_w-at-planet-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2012-03-20 18:05:10 IP : 58.10.170.154


ความคิดเห็นที่ 14 (3332348)

อยากทราบเหมือนกันค่ะว่า "ค่าตำแหน่ง" เป็นสวัสดิการ ค่าจ้าง หรืออะไรกันแน่คะ

พอดีมีปัญหานิดหน่อยค่ะในคณะกรรมการสวัสดิการบริษัทบางท่านต้องการเรียกร้อง "ค่าตำแหน่ง" ให้พนักงาน

แต่ก็โดนค้านว่า มันไม่ได้อยู่ในส่วนของสวัสดิการ ก็เลยเรียกร้องแทนไม่ได้ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น rec วันที่ตอบ 2012-04-27 13:37:25 IP : 210.176.225.236


ความคิดเห็นที่ 15 (3357814)

อ. พอทราบเรื่องค่าประสบกาณ์การทำงานบ้างไหมค่ะวิชาชีพพยาบาลว่าทำงาน1 ปีได้ค่าประสบการณ์เท่าไหร่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น nana วันที่ตอบ 2013-02-04 13:05:55 IP : 202.29.56.224


ความคิดเห็นที่ 16 (3389193)

พนักงานได้รับเงินเดือน 12,500.-  แต่พนักงานให้แจ้งปกส.แค่10,000.-  อย่างนี้มันไม่ยุติธรรมกับนายจ้าง  เพราะเราขาดคนทำงานเลยต้องยอมเขาไปก่อน  อย่างนี้มีคำแนะนำอย่งไรบ้างในกรณีลูกจ้างหัวหมอแบบนี้ 

ผู้แสดงความคิดเห็น เครียดจุงเบย (jaruwan8138-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-23 00:14:30 IP : 180.180.66.111


ความคิดเห็นที่ 17 (3397234)

สอบถามข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ค่ะ

           กรณีที่ทางบริษัทฯ จ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้กับพนักงานทุกเดือน โดยไม่ได้กำหนดว่าแต่ละเดือนจะต้องขายได้เท่าไหร่

แต่มีเงื่อนไขว่าในการคำนวณค่าคอมมิชชั่นจะได้เฉพาะวันที่มาทำงานเท่านั้น

            คำถาม  ค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายให้กับพนักงานแบบนี้ต้องนำมาหักประกันสังคมหรือเปล่าคะ   ถ้าหัก จะอ้างอิงตามกฎหมายข้อที่เท่าไหร่คะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงานธรรมดา วันที่ตอบ 2014-11-06 00:22:27 IP : 14.207.11.128


ความคิดเห็นที่ 18 (3397892)

อาจารย์คะ รบกวนสอบถามค่ะ

การคิก OT จะต้องนำค่าอะไรมาคิดบ้างค่ะ

1. เงินเดือน + ค่าตำแหน่ง

2. เงินเดือน + ค่าตำแหน่ง + ค่าวิชาชีพ

ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กชามาศ คุ้มเศก วันที่ตอบ 2014-11-24 15:24:09 IP : 192.168.52.168


ความคิดเห็นที่ 19 (3400427)

 ถามครับ

เงินเดือน 40,000 บาท แต่การส่งประกันสังคมขอส่งแค่ 15,000 จะได้ไหม

ผู้แสดงความคิดเห็น zeneca (zeneca24-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-02-05 17:55:52 IP : 125.26.191.101


ความคิดเห็นที่ 20 (3410400)

 สอบถามหน่อยคะ ค่าตำแหน่งงาน เช่น หัวหน้างาน ผู้ชำนาญการ ถ้าแยกออกจากเงินเดือน โดยไม่นำมาคำนวญโอที และปรับเงินเดือนขึ้น บริษัทสามารถทำได้หรือเปล่า เป็นการผิดกฎหมายหรือเปล่า สามารถจ่ายย้อนหลังได้เปล่าถ้าผิดกฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงาน (Unjung_j-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-01-30 03:20:10 IP : 223.204.251.87


ความคิดเห็นที่ 21 (3410720)

 รบกวนสอบถามค่ะ

เนื่องจากต้องนำข้อมูลเสนอนายค่ะ

1.ค่าวิชาชีพ-ช่างไฟฟ้า มีกฎหมายบังคับว่าต้องจ่ายให้พนักงานหรือไม่คะ  

-สืบเนื่องจากประกาศกระทรวงแรงงาน "กำหนดให้สาขาอาชีพช่่างไฟฟ้า ต้องมีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถตามกฎหมาย"

ดังนั้นบริษัทได้ส่งพนักงาน เข้าอบรมและทดสอบตามมาตรฐาน ออกคชจ.ให้พนักงานทั้งหมด  เพื่อเตรียมความพร้อมรับการตรวจ

เมื่อพนง.มีใบรับรองฯ บริษัทต้องจ่าย ค่าวิชาชีพ ให้พนักงานตามอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน หรือไม่คะ

หรืออย่างไร 

ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น PUN (pun1750-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-02-11 09:30:43 IP : 110.164.181.162


ความคิดเห็นที่ 22 (3411385)

 รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ เกี่ยวกับการยื่นประกันสังคม ไม่รู้ว่าควรใส่ยอดเงินตามเงินเดือนที่จ่ายจริงหรือแค่ 15000

เช่น พนักงานเงินเดือน 20,000 แต่ประกันสังคมให้ยื่นแค่ 15,000 เราควรจะใส่ยอดเงินเดือนไหนกันแน่ในการยื่นประกันสังคม

รบกวนช่วยบอกทีค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงานออฟฟิต วันที่ตอบ 2016-03-11 10:15:06 IP : 223.207.86.166


ความคิดเห็นที่ 23 (3417128)

 หากเราได้ขึ้นทะเบียนแลปให้กับบริษัทโดยที่เราได้ลาออกจากงานมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี แต่ทางบริษัทยังไม่เอาชื่อเราออกจากทะเบียนแลป แล้วยังหาผลประโยชน์จากชื่อเรา เราสามารถที่จะดำเนินการใดๆกับบริษัทได้มั้ยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กดี วันที่ตอบ 2016-10-15 16:54:21 IP : 171.5.243.136


ความคิดเห็นที่ 24 (3492966)

 ค่าล่วงเวลาที่นายจ้างจ่ายให้ถือเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรื่อไม่ค่ะ??  

ขอบพระคุณมากคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เพ็ญพักตร์ ศิริวัฒน์ วันที่ตอบ 2016-10-31 17:52:50 IP : 183.88.40.74



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.