ReadyPlanet.com


รบกวนขอสอบถามเรื่อง การทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์


ผมขออธิบายการทำงานในวันทำงานปกติ

คือ บริษัทกำหนดการเดินรถในวันทำงานปกติไว้ คือให้พนักงานวิ่งรถ 3รอบ

ได้รับค่าจ้างตามแรงงานขั้นต่ำในพื้นที่คือ 215 บาท ในวันทำงานปกติ

แต่ปัญหามีอยู่ว่า.......

พนักงานไปทำงาน วันที่ 6 เม.ย ซึ่งเป็นวันประกาศวันหยุดประจำปี

แต่ทางบริษัท กำหนดให้การทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าวันทำงานปกติ

คือวันทำงานปกติ กำหนดให้เดินรถ 3รอบ แต่ในวันหยุดนี้บริษัทกำหนดให้เดินรถ 4รอบ

เพราะทางบริษัทอ้างว่า ที่เพิ่มรอบการเดินรถทำให้การทำงานเพิ่มขึ้นกว่าวันทำงานปกติ

เพราะวันนี้เป็นวันหยุดประจำปี บริษัทจ่ายค่าแรง 2เท่า คือจากเดิม215 จ่ายวันนี้ 430บาท

 

จากการกระทำของบริษัทถือว่ากระทำการถูกต้องตามกฎหมายเเล้วหรือไม่

เพราะลูกจ้างต่างไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีการเพิ่มรอบของการเดินรถขึ้นมาอีก ๑ รอบ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ กฤษณะพงศ์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-04-07 00:59:52 IP : 183.89.66.254


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3290608)

 การประกาศให้ลูกจ้างเดินรถเพิ่มขึ้นในวันหยุดหรือวันธรรมดาก็ตามแต่  

ถือเป็นอำนาจในการบริหารจัดการงานของนายจ้าง   แต่การใช้อำนาจนั้น

ต้องไม่เป็นการเกินสิทธิหรือละเมิดสิทธิของลูกจ้างเช่นกัน  คือ    

       ปัญหาในกรณีนี้   ปัญหาที่ต้องดู  คือ   การสั่งให้วิ่งรถเพิ่ม  จากเดิม  3  รอบ  เป็น  4  รอบนั้น

นายจ้างมีอำนาจสั่งการได้หรือไม่  

      ข้อเท็จจริงต้องดูว่า   การวิ่งรถ  3  รอบ  หรือ  4 รอบ  เป็นการสั่งการ  หรือให้วิ่งรถ

ในเวลาทำงานปกติหรือไม่    ซึ่ง เวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกิน  8  ชั่วโมง

      หากการสั่งการนั้น   เป็นการสั่งให้ทำงานในเวลาทำงานปกติ  และหน้าที่ขับรถ  หรือเก็บค่าโดยสารนั้น

เป็นหน้าที่หลักของพนักงานอยู่แล้ว   นายจ้างจึงสามารถสั่งการให้ทำงานตามหน้าที่  ในเวลาทำงานปตกิได้

     แต่หากเกินเวลาทำงานปกติ   ต้องดูว่าการขับรถโดยสารบริการ   โดยปกติสามารถกำหนดเที่ยวที่วิ่งได้หรือไม่  

จัดตารางการขับรถได้หรือไม่    หากเป็นเช่นนั้น   ไม่ถือว่าเป็นงานเร่งด่วน  หรือลักษณะงานต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง  

หรือหากหยุดจะเสียหายแก่งาน  อันเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้  

      ดังนั้น   หากกำหนดให้วิ่งรถเพิ่มเติม  หากเที่ยวที่  4  เลยเวลาทำงานปกติ   นายจ้างไม่สามารถสั่งให้ทำได้  

หากอยู่ในเวลาทำงานปกติสั่งได้

      แต่ลักษณะการขับรถนั้น   เป็นงานที่ต้องทำให้เสร็จในแต่ละเที่ยว   ใช่ว่า  หมดเวลาทำงานปตกิแล้วจะหยุดรถในทันที  

เพราะลักษณะการขับรถ   หากอยู่ระหว่างเที่ยว  ต้องทำให้เสร็จ  เพราะหากหยุดจะเสียหายแก่งาน (ผู้โดยสารไปไม่ถึงบ้านแน่)

     สรุปว่า   หากการวิ่งรถเที่ยวที่ 4 อยู่นอกเวลาทำงานปกติ  มีสิทธิปฏิเสธได้   แต่หากอยู่ในเวลาทำงานปกติปฏิเสธไม่ได้

ถือว่าเป็นหน้าที่   ส่วนเที่ยวที่ 4 เมื่อขับรถออกไปแล้ว   จะเกินเวลาทำงานปกติ   ก็ต้องวิ่งให้เสร็จจนครบรอบ  

   โดยเวลาที่ทำงานเกินนั้น   ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด  ในอัตรา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง

ตามเวลาที่ทำงานเกิน  หากเหมาจ่ายได้น้อยกว่า   มีสิทธิได้รับเพิ่ม   

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-04-07 15:53:00 IP : 202.183.133.100



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.