ReadyPlanet.com


ถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานโดยปริยายหรือไม่


ดิฉันโดนทางบริษัทลดเงินเดือน และย้ายแผนก โดยนายจ้างเรียกไปบอกกล่าวให้รับรู้ และส่งเมลล์ โดยไม่มีการเซ็นเอกสารยินยอมใดๆทั้งสิ้น

ดิฉัน ได้สอบถามไปยังแผนกบุคคลว่าสามารถลดเงินเดือนพนักงานได้หรือไม่ ทางแผนกบุคคลยืนยันว่าสามารถลดได้ ดิฉันไม่มีทางเลือก เพราะมีความจำเป็นด้านการเงิน และยังหางานใหม่ไม่ได้ เลยอดทนทำงานมาอีก 7 เดือน ในระหว่างนั้่น ดิฉันได้สอบถามเพื่อนๆ เพื่อนแนะนำให้ไปฟ้องศาลแรงงานเรื่องที่โดนลดเงินเดือนได้ หลังจากดิฉันลาออก จึงไปฟ้องศาล

ดิฉันมีเรื่องรบกวนถามดังนี้

1. การที่ดิฉันทำงานต่ออีก 7 เดือน หลังจากโดนลดเงินเดือนแล้ว โดยไม่ได้โต้แย้งนายจ้าง (แต่ไม่ได้เซ็นเอกสารยอมรับ) ถือว่าเป็นการตกลงโดยปริยายหรือไม่ ดิฉันกลัว นายจ้างจะอ้างว่า ในเมื่อดิฉันไม่โต้แย้ง ทำงานต่อมาอีกต้อง 7 เดือน ก็แสดงว่ายินยอม

2. ดิฉันเคยยื่นขอใบรับรองเงินเดือนเพื่อไปต่างประเทศ ในระหว่างเงินเดือนถูกลด นายจ้างสามารถเอาจุดนี้มาอ้างได้หรือไม่ว่า ข้าพเจ้ายอมรับการลดเงิน

ขอบคุณค่ะ

มาทินี



ผู้ตั้งกระทู้ มาทินี โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-23 14:41:05 IP : 110.169.15.253


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3286001)

สวัสดีครับ

       กรณีคำถามนี้  น่าสนใจครับ   เพราะมีให้เห็นค่อนข้างเยอะ

การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง   หากเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง  เป็นการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง

และลูกจ้างไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย   ถือว่าขัดต่อกฎหมายครับ   ไม่สามารถบังคับใช้ได้

      ปัญหาในกรณีนี้   คือการลดค่าจ้าง  ลดเงินเดือน   โดยลูกจ้างไม่ได้ยินยอม   แต่เวลาผ่านมากว่า  ๗  เดือน  ถือว่ายอมรับหรือไม่นั้น

หากเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในบางเรื่อง  หรือสวัสดิการบางอย่างซึ่งไม่เป็นสาระสำคัญในสัญญาจ้าง   โดยสภาพการทำงานแล้ว

ถือว่าเป็นการยอมรับโดยสภาพ  เช่นเดิมมีการจัดรถรับส่ง   เปลี่ยนเป็นจ่ายค่ารถแทน    เป็นต้น

    แต่กรณี  เงินเดือน หรือค่าจ้าง  เงื่อนไขการจ่ายค่าจ้าง  ถือเป็นสาระสำคัญของการจ้างงาน  ดังนั้น การตกลงหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

ต้องตกลงยินยอมทั้งสองฝ่าย   การที่นายจ้างอ้างว่า  ลูกจ้างไม่โต้แย้ง  หรือไม่คัดค้านนั้น  คงเป็นข้ออ้างที่ไม่น่ารับฟ้งนัก 

      กรณี  การลดค่าจ้าง  ศาลคงต้องดูเจตนามากกว่า  พฤติการณ์ครับ   เนื่องจาก  ลูกจ้างส่วนใหญ่อยู่ในฐานะหรือสภาพที่ไม่อาจโต้แย้งได้

     ดังนั้น การลดค่าจ้าง  โดยนายจ้างใช้สิทธิฝ่ายเดียว  ลูกจ้างไม่ได้ตกลงยินยอมนั้น  ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

แม้พฤติการณ์จะผ่านมานานกว่า ๗  เดือน  ลูกจ้างสามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงเจตนาที่แท้จริงได้  ว่าตกลงยินยอมด้วยหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-02-26 16:40:26 IP : 115.87.183.9


ความคิดเห็นที่ 2 (3294520)

เดิมเคยได้รับค่าวิชาชีพทางวิศวกรรม 4,000 ตั้งแต่บรรจุเข้าทำงาน โดยการยื่นใบ กว.

ต่อมาบริษัทขอความร่วมมือให้ยินยอมลดจาก 4,000 เหลือ 3,300 ทั้งบริษัทและมีการเซ็นยินยอมเงื่อนไขของบริษัท เช่น อาจยกเลิกเมื่อใดก็ได้ ทำงานไม่ตรงสายวิศวกรรมก็ไม่ได้ ทำตรงแต่ชั่วโมงงานวิศวกรรมไม่ครบก็ไม่ได้ เป็นต้น

และต่อมาถูกย้ายไปทำงานในหน่วยที่ไม่ตรงสายวิศวกรรม และถูกยกเลิกค่าวิชาชีพ

ถามว่า ควรจะทำอย่างไรดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ต้นตาล (surasak9_9-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-05-18 00:23:09 IP : 125.27.174.120



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.