ReadyPlanet.com


ต้องจ่ายเงินชดเชยไหม


รบกวนปรึกษาอาจารย์ด้วยนะคะ

คือปัจจุบันบริษัทฯ ได้เช่า อาคารและที่ดินพร้อมเครื่องจักรทำการผลิต  และแบ่งส่วนหนึ่งให้อีกบริษัทเช่าต่อด้วย   แต่ในปีหน้าบริษัทได้ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานเป็นของตนเอง    และต้องย้ายพนักงานผลิตทั้งหมดไปที่ใหม่ ซึ่งอยู่ใน จว.เดียวกัน แต่ไกลจากบริษัท(ที่เช่า) ประมาณ 10 กม.     ส่วนบริษัทที่เช่าก็ยังคงเช่าอยู่  และมีพนักงานบางส่วนยังอยู่ที่เดิม (ยกเว้นฝ่ายผลิต)    อยากสอบถามอาจารย์ว่าพนักงานที่ไม่ย้ายไปอยู่โรงงานใหม่ต้องจ่ายเงินชดเชยไหมคะ

 

ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ กานต์ชนิต โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-24 13:42:05 IP : 183.88.40.188


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3310565)

การย้ายสถานประกอบการ   ตามมาตรา ๑๒๐  นั้น

ประเด็นสำคัญ   คือ  เป็นการย้ายสถานประกอบการ   ย้ายไปทั้งระบบ  ทั้งโรงงาน  ทั้งบริษัท ฯ

การย้ายไปเพียงบางส่วน   หรือย้ายไปยังสาขาของบริษัท ฯ สถานประกอบการเดิมยังมีอยู่   

ไม่ถือเป็นการย้ายสถานประกอบการ

ประเด็นต่อมาคือ  การย้ายนั้น  ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติหรือครอบครัว   ซึ่งต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

เช่น  ระยะเวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น  เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น   มีเหตุขัดข้องส่วนตัวที่ไปทำงานไกลไม่ได้ เป็นต้น

กรณ๊นี้   ย้ายไปเพียง ๑๐  กิโลเมตร   ก็คงต้องพิจารณาผลกระทบอื่น  เช่น  หากมีรถรับส่ง  คงไม่ถือว่าการดำรงชีวิตเปลี่ยนไปมากนัก

อาจใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น ๕ ถึง ๑๐ นาที   หากมีรถส่วนตัวผลกระทบอาจไม่มี    แต่หากไม่มีรถรับส่ง

และไม่มีรถส่วนตัว  ผลกระทบเกิดแน่นอน   เพราะระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร ถือว่าไกลสำหรับคนไม่มีรถ  ไม่มีรถรับส่ง

     กรณีนี้  คงต้องดูว่า โรงงานผลิตใหม่  เป็นเพียงสาขาที่เปิดเพิ่มใช่หรือไม่  และการย้ายไป  ส่งผลกระทบต่อ

การดำรงชีวิตหรือไม่   หากไม่เข้าองค์ประกอบดังกล่าว   ไม่ถือเป็นการย้ายสถานประกอบการ  ตามมาตรา ๑๒๐ 

หากลูกจ้างไม่ไป  ขอลาออก ถือ เป็นสิทธิของลูกจ้าง   แต่เมือไม่เข้ามาตรา ๑๒๐  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 

      แต่หากการย้ายสถานประกอบการดังกล่าว  เป็นการย้ายไปทั้งหมด   และการย้ายส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตไม่มากก็น้อย

ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการ ตามมาตรา ๑๒๐  

    ประการสำคัญ   ต้องครบองค์ประกอบทั้งสอง ประการ  คือ เป็นการย้ายสถานประกอบการ   และส่งผลกระทบต่อการดำรงชิวิต

กรณีของคุณกานต์ชนิต   พิจารณาเบื้องต้นตามข้อกฎหมาย   ไม่เข้าองค์ประกอบตาม มาตรา ๑๒๐ ครับ  ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

    แต่อย่างไรก็ดี พนักงานมีสิทธิไปร้องต่อคณะกรรมการค่าจ้าง  ให้พิจารณาและมีคำสั่งได้ ตามมาตรา ๑๒๐  ครับ      

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-09-26 12:36:00 IP : 58.9.59.102


ความคิดเห็นที่ 2 (3313443)

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ผู้แสดงความคิดเห็น กานต์ชนิต วันที่ตอบ 2011-09-28 16:45:06 IP : 183.88.47.243



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.