ReadyPlanet.com


สัญญาจ้างแบบมีระยะเวลา


ขอถามเป็นข้อๆ นะค่ะ (เยอะหน่อยนะค่ะ)

1. สัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลา เมื่อครบสัญญาต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วง เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องมั๊ยคะ

2. สัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลาทำได้คราวละไม่เกิน 2 ปี หลังครบสัญญาต่อสัญญาอีกได้มั๊ยคะ ต่อได้กี่ครั้ง ครั้ง ครั้งละกี่ปี กฎหมายกำหนดหรือเปล่าคะ

3. ถ้าเรา outsource งาน จะเข้าข่ายปฏิบัติตาม ม.11/1 หรือเปล่าค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ HR มือใหม่ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-27 17:41:56 IP : 202.183.133.100


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3302570)

สวัสดีครับ

      ตามกระทู้

      ๑) สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา  เมื่อครบสัญญาเลิกจ้างตามระยะเวลานั้น   ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย  ตามมาตรา ๑๑๘

(พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ)   แต่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า   เน้น ว่า  ในสัญญาต้องไม่ระบุเหตุหรือมีข้อยกเว้นไว้นะครับว่า  ในระหว่างสัญญา

นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หากเห็นว่าทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือ.......................... เพราะหากกำหนด  ก็เท่ากับว่า  ที่กำหนด

ระยะเวลานั้น  ก็ไม่แน่นอนว่าจะได้ทำงานครบหรือไม่   ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 

     ที่เข้าใจตามข้อ  ๑  นั้นถูกต้องแล้วครับ   แต่สัญญาจะเป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาหรือไม่นั้น  ต้องดูรายละเอียดในสัญญาทั้งหมด

จึงจะบอกได้ว่า  สัญญานั้น ๆ  เป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่  อย่างไร

    ๒)  สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา   กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า  ต้อง ๑  หรือ ๒  ปี   แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของนายจ้าง

และการตกลงกันระหว่างลูกจ้างนายจ้าง   ( ในกรณีธุรกิจปกติของนายจ้าง)

          ระยะเวลาการจ้าง   กฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องระยะเวลาไว้  เว้นแต่เป็นงานโครงการ   หรืองานตามฤดูกาล  

ให้บังคับตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ  มาตรา ๑๑๘  คือ  งานโครงการ   และมีการจ้างงานตามโครงการนั้น

ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของงานที่แน่นอน  อันไม่ใช่ธุรกิจปกติของนายจ้าง  หรืองานตามฤดูกาล

โดยได้จ้างงานตามฤดูกาลนั้น    ซึ่งงานต้องแล้วเสร็จไม่เกิน  ๒  ปี  

        หากเป็นงานตามมาตรา ๑๑๘   ดังกล่าวข้างต้น   นายจ้างเลิกจ้างได้  โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  และไม่ต้องบอกบอกกล่าวล่วงหน้า

เป็นข้อยกเว้นตามกฎหมาย     แต่กรณีนี้ไม่สามารถต่อสัญญาได้  ต้องเลิกจ้างตามโครงการหรือตามฤดูกาลนั้น

       ส่วนการจ้างงาน   ที่นายจ้างส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด  คือ  การทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา   แต่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่

อันเป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง   กรณีอย่างนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา ๑๑๘   เมื่อตกลงทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา

และเลิกจ้างตามระยเวลานั้น ๆ   จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย  แต่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

     แต่หากมีการต่อสัญญากันอีก   โดยทำงานตามปกติ   พฤติกรรมดังกล่าว  ถือว่ามีเจตนาเลี่ยงกฎหมาย   และถือว่าระยะเวลาที่กำหนด  

กลายเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนว่า  เมื่อครบสัญญาแล้วจะได้ทำต่ออีกหรือไม่    กรณี  สัญญาดังกล่าว  จึงกลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนด

ระยะวเวลา   เมื่อจะเลิกจ้าง  ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  และอ้างเหตุในการเลิกจ้างอื่น  อันไม่ใช่เหตุสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง 

      ๓)  พนักงาน  outsource  หรือพนักงานรับเหมาจ้างแรงงาน   บังคับ  ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา ๑๑/๑  ครับ     

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-07-28 23:08:23 IP : 110.168.129.86


ความคิดเห็นที่ 2 (3302632)

ขอบคุณมากค่ะ

สำหรับข้อ 3 มีข้อมูลเพิ่มค่ะ หมายถึงเราจะ outsource ลักษณะงานออกไปเลย เช่น ตำแหน่งพนักงานต้อนรับ เราจะไม่ทำเอง โดยพนักงานเหล่านี้ใช้ระเบียบข้อบังคับตามบ.ที่ตนเองสังกัด รับเงินเดือนจากบ.ต้นสังกัด และบริษัทฯ ที่จัดหาพนักงานมาปฏิบัติงาน ก็เป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้พนักงานค่ะ

ขอรบกวนความรู้เพิ่มเติมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น HR มือใหม่ วันที่ตอบ 2011-07-29 14:07:13 IP : 202.183.133.100


ความคิดเห็นที่ 3 (3303035)

หากพิจารณาตามเจตนา การกำหนดมาตรา ๑๑/๑  ไว้นั้น

ตามวรรคหนึ่ง  หากเป็นการทำงานในตำแหน่งหน้าที่   ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ

ธุรกิจของผู้ประกอบการ  หรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิต  ถือว่า

ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนั้น   เป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการนั้นด้วย

    ส่วนการกำหนดลักษณะงานแยกเป็นสัดส่วน  แยกกันระหว่างพนักงานรับเหมาค่าแรงกับ

พนักงานประจำนั้น  ถือว่าเป็นเจตนาที่ต้องการแยกสวัสดิการ  หรือสิทธิประโยชน์ให้ชัดเจน

เพื่อป้องกันปัญหาการตีความ  ตามมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง  

     แต่ไม่ว่าจะแยกอย่างไร  ก็ตาม  พนักงานต้อนรับ   ก็ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน

ของธุรกิจปกติของผู้ประกอบการ   ผู้ประกอบการยังจึงถือว่าเป็นนายจ้างของลูกจ้างรับเหมาค่าแรง  

ตามเจตนาของกฎหมาย

    ส่วนสวัสดิการ  และสิทธิประโยชน์   จะได้เท่าเทียมหรือเหมือนกับพนักงานตามสัญญาจ้าง

โดยตรงหรือไม่นั้น   ต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ   เช่น  ลักษณะการทำงานเดียวกัน

โดยพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่การงาน  อำนาจหน้าที่ ที่เหมือนกัน

    และการพิจารณาด้วยความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัตินั้น  ต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ  เช่น

ลักษณะงาน   หน้าที่ความรับผิดชอบ  คุณวุฒิ ประสบการณ์ อายุการทำงาน ทักษะ  ฝีมือ

คุณภาพของงาน  หรือปริมาณงาน ที่ทำ   ประกอบการพิจารณาด้วย 

    ตามกระทู้  ไม่ว่าผู้รับเหมาจะเป็นผู้จ่ายค่าจ้างเอง   ดูแลเรื่องระเบียบวินัยเอง   ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

ที่จะไม่ปฏิบติตาม เจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๑๑/๑  แต่อย่างใดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-08-03 01:07:58 IP : 58.9.69.23


ความคิดเห็นที่ 4 (3305384)

สัญญาจ้างงานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างงาน รายละเอียดเป็นอย่างไรครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบิร์ด วันที่ตอบ 2011-08-29 13:58:48 IP : 183.88.85.97


ความคิดเห็นที่ 5 (3317641)

 อยากทราบว่าในกรณีต่อสัญญา 11 ดืือน เขามีกฎหมายไม่คะต้องต่อกันกี่รอบถึงได้บรรจุ เพราะทีแรกทางบริษัทบอกว่า 11 เดือนบรรจุ  ทำมาทำไป  อีก11 เดือน แล้วกำลังจะ 11 เดือน จบ ปตรี ลักษณะงานที่ทำ ก็เป็นเอกชนอ่ะคะ เลยไม่รู้ว่าจะหางานใหม่แล้วไม่แน่นอนว่าเขาจะต่อกันไปเรื่อยได้กี่ครั้ง   ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เปิ้ล (orange2524_07-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-11-18 14:36:12 IP : 202.183.133.100


ความคิดเห็นที่ 6 (3610265)

 กรณีที่พนักงานจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา ได้รับหนังสือบอกเลิกจ้าง แล้วนายจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย

ลูกจ้างควรจะต้องดำเนินการอย่างไรดี

1. จ้างทนายฟ้องร้อง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

2. ฟ้องกรมแรงงาน ฟ้องกับใคร ที่ไหน

3. ทำหนังสือเรียกร้องขอค่าชดเชยจากบริษัทฯ ต้องเขียนอย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น Ochin วันที่ตอบ 2016-11-28 08:48:04 IP : 58.8.5.74



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.