ReadyPlanet.com


ผู้เบิกค่าคลอดบุตรร่วม


 ในกรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรร่วมกันได้แล้วจะเบิกได้ทั้งคู่รึป่าวค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ วารุณี (sajew26-at-gmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2016-07-17 13:53:42 IP : 182.53.46.118


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3417018)

ไม่ได้ครับ  จะต้องใช้สิทธิเบิกได้จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น                                                                                                   

กรณีสงเคราะห์บุตร

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

  1. หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  2. สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน 

เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร

  1. เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
  2. ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

     
 การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
    -  เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
    -  บุตรเสียชีวิต
    -  ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
    -  ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
 กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
        1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
        2. สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด
        3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
        4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้  

            1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 

            2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 

            3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 

            4) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 

            5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 

            6) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 

            7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 

            8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

            9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 

          10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม) 

          11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)(ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)  

กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ

    1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
    2. สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด
    3. สำเนาทะเบียนสมรส หรือ สำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
    4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้  

         1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 

         2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

         3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

         4) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 

         5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 

         6) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

         7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 

         8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 

         9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 

       10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม) 

       11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม) 


 ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
     1. ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
     2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
     3. สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
     4. พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

สถานที่ยื่นเรื่อง

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2016-10-10 15:33:49 IP : 58.11.145.130



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.